วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 3 วิเคราะห์ข่าว

หมดยุคไม้เรียว ครูห้ามตีเด็ก ผิดกฎหมายอาญา!!

เรื่องราวข่าวฉาวในรั้วโรงเรียนที่เป็นข่าวบ่อยครั้ง คงหนีไม่พ้นเรื่องของ เด็กตีกัน ครูตีเด็ก อย่างกรณีล่าสุด เด็กนักเรียนชาย ชั้น ป.1  ถูกครูใช้ไม้ตีหลังจนบวมซ้ำไปทั้งแผ่นหลัง เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้ กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนัก เพียงเพราะอารมณ์ของครู ทำให้เด็กต้องเจ็บตัวทั้งที่ไม่ได้ทำผิด
ปัญหาประการหนึ่งที่ถูกยกมาถกเถียงกันบ่อย คือ ครูควรตีเด็กนักเรียนหรือไม่ ไม้เรียวที่เคยใช้ตีเด็กในยุคก่อน ควรนำกลับมาใช้ต่อหรือไม่ โดยทางกระทรวงศึกษาธิการ ได้สั่งยกเลิกการ ลงโทษเด็กนักเรียนด้วยการเฆี่ยนตีมาถึง 10 ปี แล้ว ด้วยการออกระเบียบของกระทรวง ว่าด้วยการลงโทษนักเรียน พ.ศ.2548  กำหนดให้การลงโทษเด็กทำได้แค่  4 สถาน เท่านั้น คือ
1.ว่ากล่าวตักเตือน 2.ทำทัณฑ์บน 3.ตัดคะแนนความประพฤติ 4.ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และภายหลังมีการเพิ่มมาตรการลงโทษเด็กที่ไม่สามารถปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมได้ โดยให้พักการเรียนกับเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง
แต่ยังมีเรื่องร้องเรียนครูลงโทษด้วยวิธีรุนแรง เช่น ตบหน้า ตบหัว เอาสันไม้บรรทัดตีหัว หยิก ใช้ไม้ตีขา น่อง ก้น อย่างรุนแรงจนเกิดรอยบวมช้ำเลือด เอารองเท้าครูตบหน้า ใช้มือชกไปที่ท้อง ให้วิ่งรอบสนามกลางแดดหลายรอบ จนเด็กเป็นลม
การการกระทำเหล่านี้เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวทั้งสิ้น มีความผิดทั้งทางวินัยข้าราชการ  ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพครู และยังเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญาในข้อหาทำร้ายร่างกายและจิตใจผู้อืนด้วย พร้อมย้ำว่า ทั้งหมดนี้ ห้ามเฆี่ยนตีเด็กอย่างเด็ดขาด และกฎหมายนี้บังคับใช้กับทุกโรงเรียน ทั้งรัฐบาลและเอกชน
ดังนั้น  การลงโทษของครูบาอาจารย์ ต้องเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา  จะลงโทษนอกเหนือจากระเบียบที่กำหนดไว้ไม่ได้  ถือว่าไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะทำได้
และเมื่อไม่มีกฎหมายให้อำนาจครูตีเด็ก ผู้ปกครองของนักเรียนมีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น เป็นคดีอาญาได้
ส่วนโทษของครูนั้น ขึ้นอยู่กับวิธีทำร้ายว่าทารุณเพียงใด โดยพิจารณาจาก บาดแผล ผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสียหาย แถมผู้ปกครองยังมีสิทธิ์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากครูและโรงเรียนที่เป็นนายจ้างของครูด้วย
สุดท้าย สุภาษิตที่ว่า รักวัวให้ผูก  รักลูกให้ตี จึงใช้ไม่ได้สำหรับ ครู  อาจารย์ กับนักเรียนในปัจจุบัน เด็กๆ มีสิทธิ์ที่จะเรียนหนังสือโดยปราศจากความหวาดกลัว แต่โจทย์ใหญ่ที่ครูจะต้องรับมือคือ การตักเตือนหรือหักคะแนน อาจไม่ได้ผลกับเด็กบางกลุ่ม  จึงต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ และวิธีการไม่ใช้ความรุนแรง ลงโทษให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความเหมาะสม


อนุทินที่ 2 ตอบคำถาม

อนุทินที่ 2

แบบฝึกหัด คำสั่ง หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ หากไม่มีกฎหมาย มนุษย์มักจะชอบทำอะไรตามใจตนเอง ถ้าต่างตนต่างทำตามใจและการกระทำนั้นทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ก็จะเกิดปัญหา ความขัดแย้ง มีการล้างแค้นไม่มีที่สิ้นสุด เพราะไม่มีกฎหมายเข้าไปจัดการให้ความเป็นธรรม ในที่สุดสังคมนั้นประเทศนั้นก็จะล่มสลายไม่สามารถดำรงอยู่ได้ รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประชาชนมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย การรู้กฎหมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทุกคน ที่จะได้ทราบถึงของเขตของสิทธิ และหน้าที่ของตน ตลอดจนข้อปฏิบัติต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

2. ท่านคิดว่า สังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ  ถ้าในสังคมปัจจุบันไร้กฎหมายจะอยู่กันแบบวุ่นวาย ทุกคนชอบทำอะไรตามใจตนเอง ถ้าต่างตนต่างทำตามใจและการกระทำนั้นทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ก็จะเกิดปัญหา ความขัดแย้ง การมีกฎหมายเป็นสิ่งที่ดี ทำให้สังคมเป็นระเบียบ ลดการขัดแย้งระหว่างกัน ทุกคนอยู่รวมกันอย่างมีความสุข

3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้  
ก. ความหมาย
ตอบ กฎหมาย คือข้อบังคบที่ทุกคนยึดถือและปฏิบัติเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้น และบังคับให้ผู้ที่อยู่ในประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม เพื่อกำหนดความประพฤติของพลเมืองผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามมีความผิดและถูกลงโทษ
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
                1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาอธิปไตยที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิรัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติหัวหน้าคณะปฏิวัติกษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้เช่นรัฐสภาตราพระราชบัญญัติคณะรัฐมนตรีตราพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกาคณะปฏิวัติออกคาสั่งหรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่างๆถือว่าเป็นกฎหมาย
                2. มีลักษณะเป็นคาสั่งข้อบังคับอันมิใช่คาวิงวอนประกาศหรือแถลงการณ์อาทิประกาศของกระทรวงศึกษาธิการคาแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมายสาหรับคาสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมายเช่นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นต้น
                 3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาคเพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้เช่นกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้การแจ้งคนเกิดภายใน 15 วันแจ้งคนตายภายใน 24 ชั่วโมงยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่ออายุย่างเข้า 18 ปีเข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจาการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปีเป็นต้น
                4. มีสภาพบังคับซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทาและการงดเว้นการกระทาตามกฎหมายนั้นๆกำหนดหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้และสภาพบังคับในทางอาญาคือโทษที่บุคคลผู้ที่กระทาผิดจะต้องได้รับโทษเช่นรอลงอาญาปรับจาคุกกักขังริมทรัพย์แต่หากเป็นคดีแพ่งผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายหรือชาระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทาหรืองดเว้นกระทาอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้เช่นบังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยบังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเป็นต้น

อนุทินที่ 1 แนะนำตัวเอง

แนะนำตัวเอง ^_^


1. ประวัติส่วนตัว
ชื่อ : นางสาวนัฐริตา รัตนบุรี           ชื่อเล่น : ซี
กำลังศึกษาอยู่ : ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
รหัสนักศึกษา : 5681114025
วันเกิด : วันพุธ ที่ 13 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2538          

เชื้อชาติ : ไทย       สัญชาติ : ไทย       ศาสนา : พุทธ
ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 105/1 หมู่ 12 ตำบลนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช 80220
E-mail : nattharitarattanaburee@gmail.com
ลักษณะนิสัย : เป็นคนร่าเริงแจ่มใส จิตใจดี เข้ากับทุกคนได้ง่าย