วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา
ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในบล็อกของนักศึกษา (เวลา 8.00-11.30 น)

1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
                กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับมนุษย์ในสังคมเพื่อความสงบเรียบร้อย หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับโทษ แต่อย่างไรก็ตามกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับต่อการกระทำของมนุษย์ไม่ได้มีแค่กฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีจารีตประเพณี และศีลธรรมมาคอยช่วยกำกับการกระทำของมนุษย์ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและดีงามอีกด้วย
ศีลธรรม คือ ความประพฤติที่ดีที่งามและความรู้สึกผิดชอบชั่วดีภายในจิตใจของมนุษย์ทุกๆคน มนุษย์จะมีความรู้สึกผิดชอบ มีสติปัญญาที่สามารถพิจารณาได้ว่าเมื่อได้ทำอะไรไปบุคคลอื่นอาจจะไม่ยินดีไม่ยินยอมอาจจะต่อสู้หรือขัดขวาง ความรู้สึกระมัดระวังเหล่านี้จะเกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์ สิ่งใดเป็นควรกระทำหรือไม่ควรกระทำ ดังนั้น มนุษย์ทุกๆคนควรจะมีความยุติธรรม ความถูกต้อง ความชอบธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความกตัญญู เป็นต้น
                กฎหมายกับศีลธรรมมีความแตกต่างกัน โดยกฎหมายเป็นแบบแผน หรือกฎเกณฑ์กำหนดความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องของการกระทำภายนอกเท่านั้น ในขณะที่ศีลธรรม เป็นเรื่องของจิตใจ เป็นเรื่องความมีจิตสำนึกในความเป็นมนุษย์ และตัวศีลธรรมนี้เองที่จะเป็นตัวกำหนดการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมภายนอกได้เป็นอย่างดี
·       กฎหมายกับศีลธรรมมีความแตกต่างกันดังนี้
- กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ แต่ศีลธรรมเป็นความรู้สึกที่เกิดจากจิตใจของมนุษย์แต่ละคน
- ข้อบังคับของกฎหมายกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนใหญ่ ส่วนศีลธรรมนั้นมิได้มีการกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด
- กฎหมายกำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ที่แสดงออกมาให้เห็น แต่ศีลธรรมเป็นเพียงแต่คิดในทางที่ไม่ชอบก็ผิดศีลธรรมแล้ว
- กฎหมายนั้น ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ แต่ศีลธรรมนั้นขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของคนๆ นั้นโดยเฉพาะ โดยจะกระทบกระเทือนจิตใจของเขามากน้อยเพียงใดเท่านั้น

อนุทินที่ 8 SWOT

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม SWOT

SWOT คือ กาประเมินและวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของโรงเรียน เพื่อกำหนดกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษา ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาทราบถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน การวิเคราะห์โรงเรียนเป็นการกำหนดกรอบการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้อีกด้วย SWOT มีความหมายมาจากอักษรย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัวได้แก่ S หรือ Strengths W หรือ Weaknesses O หรือ Opportunities และ T หรือ Threats
S หรือ Strengths หมายถึง ปัจจัยต่างๆภายในโรงเรียน ที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งหรือเป็นจุดแข็งของโรงเรียนที่จะนำไปสู่การได้เปรียบคู่แข่งขัน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายใน เช่น ทำเลที่ตั้งอยู่ติดถนนใหญ่และการคมนาคมสะดวก อาคารสถานที่โอ่โถง เด่นเป็นสง่าตั้งอยู่ใจกลางเมือง มีบุคลากรทางการศึกษาและบุคลากรสายสนับสนุนการสอนที่มีคุณวุฒิ ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ การบริหารจัดการมีความคล่องตัวเป็นอิสระสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
W หรือ Weaknesses หมายถึง ปัจจัยต่างๆภายในโรงเรียนที่ทำให้เกิดความอ่อนแอ หรือเป็นจุดอ่อน นำไปสู่การเสียเปรียบคู่แข่ง เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพภายในซึ่งฝ่ายบริหารจะต้องหาวิธีแก้ไขปัญหานั้นให้ได้ เช่น สถานที่ภายในมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้ไม่สะดวกด้านการจราจรภายในวิทยาลัยฯ พื้นที่สีเขียวภายในวิทยาลัยฯมีน้อย การจัดหลักสูตรยังไม่สนองความต้องการของผู้เรียนได้อย่างหลายหลาย อาจารย์ผู้สอนที่มีประสบการณ์และเทคนิคการสอนขั้นสูงยังมีจำนวนน้อย
O หรือ Opportunities หมายถึง ปัจจัยต่างๆ ภายนอกโรงเรียนที่เอื้อประโยชน์ให้ซึ่งเป็นโอกาสที่ช่วยส่งเสริมการบริหารโรงเรียน เช่น นโยบายภาครัฐสนับสนุนเงินกู้ยืมการศึกษาส่งผลให้วิทยาลัยฯมีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้น ชุมชนให้ความเชื่อถือและมีความไว้วางใจต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของวิทยาลัยฯ มีการทำสัญญาความร่วมมือทางวิชาการและจัดกิจกรรมร่วมกับองค์กรหน่วยงานภายนอก องค์กรวิชาชีพและสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอ มีการนำสถานประกอบการด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมเข้ามาร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนในสถาบัน
T หรือ Threats หมายถึง ปัจจัยต่างๆภายนอกโรงเรียนที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ผู้บริหารจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การบริหารให้สอดคล้องและพยายามขจัดปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นให้หมดไป เช่นสภาวะการแข่งขันเชิงรุกของสถาบันอุดมศึกษาที่สูงทั้งภาครัฐและภาคเอกชนส่งผลต่อวิทยาลัยฯที่เปิดใหม่ สภาวะทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกสถานศึกษาให้ผู้เรียน ค่านิยมของผู้เรียนส่วนใหญ่ต้องการเรียนมหาวิทยาลัยมากกว่าวิทยาลัยซึ่งเปิดระดับปริญญาตรีเช่นกัน ความไม่แน่นอนของกฎระเบียบและแนวปฏิบัติของการกู้ยืมเงินเรียน (กยศ.)

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 7


อนุทินที่ 7

ตอบคำถามต่อไปนี้

 1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545

ตอบ การศึกษาเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพเพื่อความสมบูรณ์และเจริญงอกงามทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม สังคม อารมณ์และจิตใจในการดำรงชีวิต เมื่อการศึกษานับเป็นกระบวนการพื้นฐานในการสร้างและพัฒนาคน ดังนั้น  ประชากรในประเทศหนึ่งๆจึงควรได้รับสิทธิในการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมโดยในประเทศไทยนั้นก็ได้มีกฎหมายเฉพาะที่ตราโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้และสนับสนุนสิทธิทางด้านการศึกษาของเด็กไทย โดยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542และปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545

2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร

ก.ผู้ปกครอง  ข.เด็ก  ค.การศึกษาภาคบังคับ  ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ตอบ     ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน

          เด็ก หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว

          การศึกษาภาคบังคับ หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

          องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่า ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครอง  ส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนาสถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาโดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา บริจาคทรัพย์สินและทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา และมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความเป็นจำ ทั้งนี้ ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากรดังกล่าว โดยการสนับสนุน การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 6 แบบฝึกหัดทบทวนบทที่ 3

อนุทินที่6
แบบฝึกหัดทบทวน
จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ก. การศึกษา  ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน  ค. การศึกษาตลอดชีวิต  ง. มาตรฐานการศึกษา
จ. การประกันคุณภาพภายใน  ช. การประกันคุณภาพภายนอก  ซ. ผู้สอน  ฌ. ครู
ญ. คณาจารย์  ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา  ฒ. ผู้บริหารการศึกษา  ณ. บุคลากรทางการศึกษา
ตอบ
                ก. การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม ให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และการศึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
               ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
                ค. การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย
                
ง. มาตรฐานการศึกษา หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
      จ. การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กากับดูแลสถานศึกษานั้น
 ช. การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สานักงานดังกล่าวรองรับ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
ซ. ผู้สอน หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
 ฌ. ครู หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
ญ. คณาจารย์ หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
-      ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
 ฒ. ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
ณ. บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ

2. ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้างให้อธิบาย
ตอบ               ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา (มาตรา 6) การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
-          หลักการจัดการศึกษา มี 3 ประการคือ (มาตรา 8)
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

อนุทินที่ 5 วิเคราะห์ข่าวพระ


ท่าน ว.วชิรเมธี ดูสถานที่สร้างสถานที่ฌาปนสถานสรีระสังขารหลวงพ่อคูณ

ท่าน ว.วชิรเมธี ดูสถานที่ก่อสร้างสถานที่ฌาปนสถานสรีระสังขารหลวงพ่อคูณ ภายในพุทธมณฑลอีสาน จ.ขอนแก่น แนะต้องดูพินัยกรรมให้ชัดเจน และยึดถือตามพินัยกรรมที่ยุติ
จากกรณีที่นางคำมั่น วงษ์กาญจนรัตน์ อายุ 91 ปี น้องสาวพระเทพวิทยาคม หรือ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา พร้อมด้วยหลานชาย และคณะกรรมการวัดบ้านไร่ เข้าพบอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เมื่อวันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมา เพื่อขอนำสรีระสังขารของหลวงพ่อคูณกลับไปบำเพ็ญกุศลที่วัดบ้านไร่ แต่อธิการบดีไปราชการ จึงมอบหมายให้นายธัญญา ภักดี ผอ.กองกลาง ม.ขอนแก่น รับเรื่องไว้ ในขณะที่คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มข.ยืนยันว่า คณะแพทย์จะดำเนินการทุกอย่างตามพินัยกรรมของหลวงพ่อคูณ
ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 ก.พ.2560 นายยอดยิ่ง จันทนพิมพ์ นายกเทศมนตรีเมืองศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น ได้นำ ท่าน ว วชิรเมธี พร้อมด้วย แพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์ ดาราดังช่อง 7 สี หรือ ศิลปินไทยหัวใจโพธิสัตว์ พร้อมคณะที่มาร่วมทอดผ้าป่ากตัญญู ณ วัดป่ามหาวนาราม (บ้านโนนม่วง) ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น มาดูสถานที่เตรียมก่อสร้างสถานที่ฌาปนสถานสรีระสังขารหลวงพ่อคูณที่อยู่ด้านทิศเหนือ ภายในพุทธมณฑลอีสานขอนแก่น ริมถนนเลี่ยงเมือง บ้านเต่านอ ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น
นายยอดยิ่ง จันทนพิมพ์ นายกเทศมนตรีเมืองศิลา กล่าวว่า ตอนนี้การขอใช้สถานในบริเวณพุทธมณฑลอีสานขอนแก่นเพื่อดำเนินการเตรียมก่อสร้างสถานที่ฌาปนสถานสรีระสังขารหลวงพ่อคูณได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่ไปที่จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดได้ดำเนินการไปที่ส่วนกลางตามขั้นตอนให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
ท่าน ว วชิรเมธี กล่าวว่า หลวงพ่อคูณเป็นพระผู้ใหญ่เป็นพระมหาเถระที่น่ายกย่อง เพราะท่านเป็นพระผู้ให้ ดังนั้นจะนำสรีระสังขารของท่านมาฌาปนสถานที่พุทธมณฑลอีสานขอนแก่นถูกต้อง และเหมาะสมอย่างมาก เพราะครั้งสุดท้ายของท่านก็ให้กับลูกหลานที่เป็นนักศึกษาแพทย์ด้วยการเป็นครูใหญ่และอาจารย์ใหญ่ของคณะแพทยศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 4 แบบฝึกหัดทบทวน

อนุทินที่ 4
แบบฝึกหัดทบทวน

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ   ผู้ที่ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
เหตุผลที่ขอ คือ คณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดีสมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาสให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา คือ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ  หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
- มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
- มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
- มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดีมีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
- มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดา เนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
- มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือใหม่อุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร

- มาตรา65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์

3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 มีทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน
                      -  ปี พ.ศ. 2511 และ ปี พ.ศ.2517 ทั้งสองปี พ.ศ.มีความเหมือนกันในการศึกษาจะส่งเสริมการศึกษาในระดับอุดมศึกษา  รัฐบาลจัดการให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมของตนเอง  และการศึกษาระดับประถมศึกษาจะไม่เก็บค่าเล่าเรียน แต่  ปี พ.ศ.2521 การศึกษาระดับอุมศึกษาจะไม่เก็บค่าเล่าเรียน มีการฝึกอาชีพให้กับนักเรียนเพิ่มเติมอีกด้วย ส่วนระดับประถมไม่ได้พูดถึง
                     -  ทั้ง 3 ปี พ.ศ.จะส่งเสริมในงานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
                     -  ปีพ.ศ.2521 ส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา แต่ ปี พ.ศ. 2511 และ ปี พ.ศ.2517 ไม่ได้พูดถึง

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 3 วิเคราะห์ข่าว

หมดยุคไม้เรียว ครูห้ามตีเด็ก ผิดกฎหมายอาญา!!

เรื่องราวข่าวฉาวในรั้วโรงเรียนที่เป็นข่าวบ่อยครั้ง คงหนีไม่พ้นเรื่องของ เด็กตีกัน ครูตีเด็ก อย่างกรณีล่าสุด เด็กนักเรียนชาย ชั้น ป.1  ถูกครูใช้ไม้ตีหลังจนบวมซ้ำไปทั้งแผ่นหลัง เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้ กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนัก เพียงเพราะอารมณ์ของครู ทำให้เด็กต้องเจ็บตัวทั้งที่ไม่ได้ทำผิด
ปัญหาประการหนึ่งที่ถูกยกมาถกเถียงกันบ่อย คือ ครูควรตีเด็กนักเรียนหรือไม่ ไม้เรียวที่เคยใช้ตีเด็กในยุคก่อน ควรนำกลับมาใช้ต่อหรือไม่ โดยทางกระทรวงศึกษาธิการ ได้สั่งยกเลิกการ ลงโทษเด็กนักเรียนด้วยการเฆี่ยนตีมาถึง 10 ปี แล้ว ด้วยการออกระเบียบของกระทรวง ว่าด้วยการลงโทษนักเรียน พ.ศ.2548  กำหนดให้การลงโทษเด็กทำได้แค่  4 สถาน เท่านั้น คือ
1.ว่ากล่าวตักเตือน 2.ทำทัณฑ์บน 3.ตัดคะแนนความประพฤติ 4.ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และภายหลังมีการเพิ่มมาตรการลงโทษเด็กที่ไม่สามารถปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมได้ โดยให้พักการเรียนกับเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง
แต่ยังมีเรื่องร้องเรียนครูลงโทษด้วยวิธีรุนแรง เช่น ตบหน้า ตบหัว เอาสันไม้บรรทัดตีหัว หยิก ใช้ไม้ตีขา น่อง ก้น อย่างรุนแรงจนเกิดรอยบวมช้ำเลือด เอารองเท้าครูตบหน้า ใช้มือชกไปที่ท้อง ให้วิ่งรอบสนามกลางแดดหลายรอบ จนเด็กเป็นลม
การการกระทำเหล่านี้เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวทั้งสิ้น มีความผิดทั้งทางวินัยข้าราชการ  ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพครู และยังเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญาในข้อหาทำร้ายร่างกายและจิตใจผู้อืนด้วย พร้อมย้ำว่า ทั้งหมดนี้ ห้ามเฆี่ยนตีเด็กอย่างเด็ดขาด และกฎหมายนี้บังคับใช้กับทุกโรงเรียน ทั้งรัฐบาลและเอกชน
ดังนั้น  การลงโทษของครูบาอาจารย์ ต้องเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา  จะลงโทษนอกเหนือจากระเบียบที่กำหนดไว้ไม่ได้  ถือว่าไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะทำได้
และเมื่อไม่มีกฎหมายให้อำนาจครูตีเด็ก ผู้ปกครองของนักเรียนมีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น เป็นคดีอาญาได้
ส่วนโทษของครูนั้น ขึ้นอยู่กับวิธีทำร้ายว่าทารุณเพียงใด โดยพิจารณาจาก บาดแผล ผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสียหาย แถมผู้ปกครองยังมีสิทธิ์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากครูและโรงเรียนที่เป็นนายจ้างของครูด้วย
สุดท้าย สุภาษิตที่ว่า รักวัวให้ผูก  รักลูกให้ตี จึงใช้ไม่ได้สำหรับ ครู  อาจารย์ กับนักเรียนในปัจจุบัน เด็กๆ มีสิทธิ์ที่จะเรียนหนังสือโดยปราศจากความหวาดกลัว แต่โจทย์ใหญ่ที่ครูจะต้องรับมือคือ การตักเตือนหรือหักคะแนน อาจไม่ได้ผลกับเด็กบางกลุ่ม  จึงต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ และวิธีการไม่ใช้ความรุนแรง ลงโทษให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความเหมาะสม