วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 8 SWOT

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม SWOT

SWOT คือ กาประเมินและวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของโรงเรียน เพื่อกำหนดกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษา ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาทราบถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน การวิเคราะห์โรงเรียนเป็นการกำหนดกรอบการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้อีกด้วย SWOT มีความหมายมาจากอักษรย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัวได้แก่ S หรือ Strengths W หรือ Weaknesses O หรือ Opportunities และ T หรือ Threats
S หรือ Strengths หมายถึง ปัจจัยต่างๆภายในโรงเรียน ที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งหรือเป็นจุดแข็งของโรงเรียนที่จะนำไปสู่การได้เปรียบคู่แข่งขัน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายใน เช่น ทำเลที่ตั้งอยู่ติดถนนใหญ่และการคมนาคมสะดวก อาคารสถานที่โอ่โถง เด่นเป็นสง่าตั้งอยู่ใจกลางเมือง มีบุคลากรทางการศึกษาและบุคลากรสายสนับสนุนการสอนที่มีคุณวุฒิ ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ การบริหารจัดการมีความคล่องตัวเป็นอิสระสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
W หรือ Weaknesses หมายถึง ปัจจัยต่างๆภายในโรงเรียนที่ทำให้เกิดความอ่อนแอ หรือเป็นจุดอ่อน นำไปสู่การเสียเปรียบคู่แข่ง เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพภายในซึ่งฝ่ายบริหารจะต้องหาวิธีแก้ไขปัญหานั้นให้ได้ เช่น สถานที่ภายในมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้ไม่สะดวกด้านการจราจรภายในวิทยาลัยฯ พื้นที่สีเขียวภายในวิทยาลัยฯมีน้อย การจัดหลักสูตรยังไม่สนองความต้องการของผู้เรียนได้อย่างหลายหลาย อาจารย์ผู้สอนที่มีประสบการณ์และเทคนิคการสอนขั้นสูงยังมีจำนวนน้อย
O หรือ Opportunities หมายถึง ปัจจัยต่างๆ ภายนอกโรงเรียนที่เอื้อประโยชน์ให้ซึ่งเป็นโอกาสที่ช่วยส่งเสริมการบริหารโรงเรียน เช่น นโยบายภาครัฐสนับสนุนเงินกู้ยืมการศึกษาส่งผลให้วิทยาลัยฯมีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้น ชุมชนให้ความเชื่อถือและมีความไว้วางใจต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของวิทยาลัยฯ มีการทำสัญญาความร่วมมือทางวิชาการและจัดกิจกรรมร่วมกับองค์กรหน่วยงานภายนอก องค์กรวิชาชีพและสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอ มีการนำสถานประกอบการด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมเข้ามาร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนในสถาบัน
T หรือ Threats หมายถึง ปัจจัยต่างๆภายนอกโรงเรียนที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ผู้บริหารจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การบริหารให้สอดคล้องและพยายามขจัดปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นให้หมดไป เช่นสภาวะการแข่งขันเชิงรุกของสถาบันอุดมศึกษาที่สูงทั้งภาครัฐและภาคเอกชนส่งผลต่อวิทยาลัยฯที่เปิดใหม่ สภาวะทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกสถานศึกษาให้ผู้เรียน ค่านิยมของผู้เรียนส่วนใหญ่ต้องการเรียนมหาวิทยาลัยมากกว่าวิทยาลัยซึ่งเปิดระดับปริญญาตรีเช่นกัน ความไม่แน่นอนของกฎระเบียบและแนวปฏิบัติของการกู้ยืมเงินเรียน (กยศ.)

จากความหมายของ SWOT คือมีที่มาจากอักษรย่อภาษาอังกฤษทั้ง 4 ตัว สรุปได้ว่า SWOT ก็คือ กลยุทธ์การบริหาร 4 ด้านซึ่งได้แก่ จุดแข็งซึ่งเป็นจุดเด่นของโรงเรียน จุดอ่อนที่เป็นข้อเสียเปรียบของโรงเรียน โอกาส คือปัจจัยที่เอื้อประโยชน์ให้ดำเนินการบริหารโรงเรียนได้ตามแผนที่กำหนดไว้ และด้านสุดท้ายก็คือปัญหาอุปสรรคที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินการบริหารโรงเรียน เมื่อทราบความหมายของ SWOT คืออะไรแล้วนั้นฝ่ายบริหารก็สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์เพื่อกำหนดแผนการบริหารให้สอดคล้องกับปัจจัยทั้ง 4 ด้านได้อย่างลงตัวและสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน
เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอาจจะให้ผลดีต่อโรงเรียน แต่จะส่งผลทางลบก็อาจจะเป็นได้ การวิเคราะห์ SWOT ได้ถูกต้อง ก็คือ การหาจุดแข็งจุดอ่อนโดยหากลยุทธ์ที่จะสร้างความแข็งแกร่งภายใต้โอกาสที่เกิดขึ้นแบะหลีกเลี่ยงความเสียหายจากอุปสรรคที่เกิดขึ้น การวิเคราะห์ SWOT เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนกลยุทธ์ที่ถูกต้อง เป็นการพัฒนาการหาโอกาสที่ดีที่จะเอื้อประโยชน์ในการบริหารโรงเรียน โดยจะต้องมีการพัฒนาทรัพยากรภายในธุรกิจที่มีอยู่จำกัด เพื่อหาจุดเด่นและลบจุดด้อยเพื่อหาทางสร้างความแข็งแกร่งทางการบริหารภายใต้โอกาสที่มีอยู่
บางครั้งการจำแนกโอกาสและอุปสรรคเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเพราะทั้งสองสิ่งนี้สามารถเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้สถานการณ์ที่เคยเป็นโอกาสกลับกลายเป็นโอกาสได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้โรงเรียนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์แวดล้อม

ดังนั้น SWOT จึงเป็นหลักการวิเคราะห์และวางแผนการทำงานของโรงเรียน เพื่อให้บรรลุความสำเร็จและมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งในการวิเคราะห์นั้นต้องวิเคราะห์จากปัจจัยภายในได้แก่ จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร รวมถึงปัจจัยภายนอกได้แก่ โอกาสและอุปสรรค เพราะนอกจากจะสามารถแก้ไขปัญหาภายในและภายนอกองค์กรได้แล้ว ยังทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น