ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา
ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในบล็อกของนักศึกษา
(เวลา 8.00-11.30
น)
1. ให้นักศึกษาอธิบาย
คำว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
กฎหมาย คือ
กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับมนุษย์ในสังคมเพื่อความสงบเรียบร้อย
หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับโทษ แต่อย่างไรก็ตามกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับต่อการกระทำของมนุษย์ไม่ได้มีแค่กฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แต่ยังมีจารีตประเพณี และศีลธรรมมาคอยช่วยกำกับการกระทำของมนุษย์ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและดีงามอีกด้วย
ศีลธรรม คือ ความประพฤติที่ดีที่งามและความรู้สึกผิดชอบชั่วดีภายในจิตใจของมนุษย์ทุกๆคน
มนุษย์จะมีความรู้สึกผิดชอบ
มีสติปัญญาที่สามารถพิจารณาได้ว่าเมื่อได้ทำอะไรไปบุคคลอื่นอาจจะไม่ยินดีไม่ยินยอมอาจจะต่อสู้หรือขัดขวาง
ความรู้สึกระมัดระวังเหล่านี้จะเกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์ สิ่งใดเป็นควรกระทำหรือไม่ควรกระทำ ดังนั้น มนุษย์ทุกๆคนควรจะมีความยุติธรรม ความถูกต้อง
ความชอบธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความกตัญญู เป็นต้น
กฎหมายกับศีลธรรมมีความแตกต่างกัน โดยกฎหมายเป็นแบบแผน หรือกฎเกณฑ์กำหนดความประพฤติของมนุษย์
ซึ่งเป็นเรื่องของการกระทำภายนอกเท่านั้น ในขณะที่ศีลธรรม เป็นเรื่องของจิตใจ
เป็นเรื่องความมีจิตสำนึกในความเป็นมนุษย์
และตัวศีลธรรมนี้เองที่จะเป็นตัวกำหนดการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมภายนอกได้เป็นอย่างดี
· กฎหมายกับศีลธรรมมีความแตกต่างกันดังนี้
- กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ แต่ศีลธรรมเป็นความรู้สึกที่เกิดจากจิตใจของมนุษย์แต่ละคน
- ข้อบังคับของกฎหมายกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนใหญ่
ส่วนศีลธรรมนั้นมิได้มีการกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด
- กฎหมายกำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ที่แสดงออกมาให้เห็น
แต่ศีลธรรมเป็นเพียงแต่คิดในทางที่ไม่ชอบก็ผิดศีลธรรมแล้ว
- กฎหมายนั้น ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ
แต่ศีลธรรมนั้นขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของคนๆ นั้นโดยเฉพาะ
โดยจะกระทบกระเทือนจิตใจของเขามากน้อยเพียงใดเท่านั้น
จารีตประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ที่มนุษย์ยอมรับนับถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน
เช่น การที่พบบุคคลอื่น อาจจะมีการทักทายกัน การที่เข้าไปในวัดหรือโบสถ์
จะต้องถอดรองเท้า สิ่งที่เหมือนกันระหว่างกฎหมายกับจารีตประเพณีก็คือ
เป็นกฎเกณฑ์ซึ่งกำหนดแบบแผนการกระทำภายนอกของมนุษย์
กฎหมายกับจารีตประเพณีไม่สนใจว่าคุณจะมีจิตใจที่ชั่วร้ายเพียงใด หากเพียงแต่ว่า
คุณห้ามกระทำในสิ่งที่กฎหมายหรือจารีตประเพณีเห็นว่าไม่ถูกต้องเท่านั้น
และหากผู้ใดฝ่าฝืนผู้นั้นก็ย่อมต้องถูกลงโทษ
· กฎหมายกับจารีตประเพณีมีความแตกต่างกัน
ดังนี้
- กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ
แต่จารีตประเพณีเป็นข้อบังคับของชนชั้นใดชั้นหนึ่งหรืออาชีพใดอาชีพหนึ่งเท่านั้น
- การกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้กระทำจะมีความผิดและถูกลงโทษ แต่การกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีจะได้รับเพียงการติเตียนจากสังคมเท่านั้น
- กฎหมายเป็นข้อกำหนดความประพฤติของมนุษย์เพียงบางอย่างเท่านั้น
แต่จารีตประเพณีครอบคลุมการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด
สรุปได้ว่ากฎหมายและจารีตประเพณีต่างก็เป็นกฎเกณฑ์ที่จัดระเบียบของสังคมเหมือนกัน
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สังคมมีความสงบสุข
ซึ่งกฎหมายอาจมีลักษณะแตกต่างจากฎเกณฑ์อื่นอยู่บ้างตรงที่กฎหมายมีโทษที่ค่อนข้างรุนแรงและเด็ดขาดกว่า
2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร มีการจัดอย่างไร
โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ
คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ
พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ศักดิ์ของกฎหมาย คือ ลำดับชั้นของกฎหมาย ความไม่เท่าเทียมลำดับความสูงต่ำของกฎหมาย
เป็นแนวความคิดทางกฎหมายของฝรั่งเศส ซึ่งกำหนดลำดับชั้นระหว่างกฎหมายประเภทต่างๆ นั่นคือกฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น ซึ่งทำให้ผู้มีอำนาจในการตรากฎหมายที่มีศักดิ์ด้อยกว่าต้องเคารพและไม่สามารถตรากฎหมายที่ละเมิดกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าได้
การจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยสามารถจัดแบ่งลำดับชั้น ออกเป็น
7 ประเภท ดังนี้
1.
รัฐธรรมนูญ
เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
กฎหมายใดขัดแย้งไม่ได้
โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง สิทธิเสรีภาพของประชาชน
2.
พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น เกิดจากความเห็นชอบของรัฐสภา ทีเป็นตัวแทนของประชาชน
3.
พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ตามบท
บัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนหรือเรื่องที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยของประเทศ แต่ต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็ว
4.
ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ ฉบับปัจจุบันไม่ได้มอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงออกกฎหมายทรงออกกฎหมายในรูปพระบรมราชโองการได้
5.พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
เพื่อกำหนดรายละเอียดตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้
6. กฎกระทรวง
เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีตราขึ้นผ่านคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
7. ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ
เป็นกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เป็นต้น ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจปกครองดูแล
มีผลบังคับใช้เฉพาะพื้นที่ในจังหวัดนั้นๆ
8.
ประกาศคำสั่ง เป็นกฎหมายเฉพาะกิจ
เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศคณะปฎิวัติ
คำสั่งหน่วยงานราชการ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญ
เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ คือ รัฐสภา
แต่บางกรณีอาจมีองค์กรอื่นเป็นผู้จัดให้มีกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญได้ เช่น
คณะปฏิวัติออกรัฐธรรมนูญการปกครอง ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เป็นต้น
การจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย
(Hierarchy of laws) สรุปได้ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติ
3. พระราชกำหนด
4. พระบรมราชโองการ
5. พระราชกฤษฎีกา
6. กฎกระทรวง
7. เทศบัญญัติ
8. คำสั่งคณะปฏิวัติ
คำสั่งคสช.
3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ
เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า
ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร"
ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง
ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
"วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา
สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา
เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี
น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง
พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้
แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย
บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้
ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)
เนื่องจากปัญหาประการหนึ่งที่ถูกยกมาถกเถียงกันบ่อย
คือ ครูควรตีเด็กนักเรียนหรือไม่ ยกเลิกการใช้ไม้เรียวที่เคยใช้ตีเด็กในยุคก่อน โดยทางกระทรวงศึกษาธิการ
ได้สั่งยกเลิกการลงโทษเด็กนักเรียนด้วยการเฆี่ยนตีมาถึง 10 ปี แล้ว ด้วยการออกระเบียบของกระทรวงว่าด้วยการลงโทษนักเรียน พ.ศ.2548
กำหนดให้การลงโทษเด็กทำได้แค่ 4 สถาน เท่านั้น คือ 1.ว่ากล่าวตักเตือน 2.ทำทัณฑ์บน 3.ตัดคะแนนความประพฤติ 4.ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การทุบตีนักเรียนการการกระทำเหล่านี้มีความผิดทั้งทางวินัยข้าราชการ ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพครู
และยังเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญาในข้อหาทำร้ายร่างกาย
ในฐานะที่ดิฉันจะไปเป็นครูในอนาคตรู้สึกเสียใจ
ที่ได้มีข่าวแบบนี้เกิดขึ้นกับนักเรียนไทย รู้สึกว่าครูได้ลงโทษผู้เรียนเกินไป
ถึงแม้ว่าการลงโทษมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้หลาบจำและไม่ทำพฤติกรรมเช่นนั้นอีก
โดยต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องดีงามตามที่สังคม
ถ้ามองย้อนกลับไปถึงนัยของการทำโทษนักเรียนในอดีตดูเหมือนจะถูกทำโทษด้วยไม้เรียวกันเป็นประจำจนเป็นเรื่องปกติ
และก็ยังมีการลงโทษด้วยวิธีต่างๆ เช่น เดินเป็ด คาบไม้บรรทัด
ขว้างด้วยแปลงลบกระดาน วิ่งรอบสนาม ล้างส้วม และทำงานหนักอื่น ๆ หากไม่ได้ผลครูอาจเพิ่มมาตรการการลงโทษให้เหมาะสมกับโทษของผู้เรียน
เช่น หยุดพักการเรียน เป็นต้น หรืออีกวิธีหนึ่งครูควรหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบในการแก้ไขพฤติกรรมด้วยการทำร้าย
4. ให้นักศึกษา สวอท ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร
(5 คะแนน)
SWOT คือ กาประเมินและวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง เพื่อทราบถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นภายในตนเอง
การวิเคราะห์ตนเองเป็นการกำหนดกรอบการประเมินเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้อีกด้วย
เมื่อทราบความหมายของ SWOT คืออะไรแล้วนั้นก็สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์เพื่อกำหนดแผนการบริหารให้สอดคล้องกับปัจจัยทั้ง
4 ด้านได้อย่างลงตัวและสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน
จุดแข็งของตนเอง
1.
ใจเย็น
มีความอดทนค่อนข้างสูง
2. ตรงไปตรงมา
3. กล้าแสดงออก
4. รู้จักการวางตัวและการเคารพสิทธิผู้อื่น
5. จริงจังกับการทำงาน
จุดอ่อนของตนเอง
1. ตัดสินใจช้า
2. ใช้เงินสุรุ่ยสุหร่าย
3. ชอบคิด ชอบวางแผน แต่ไม่ลงมือทำ
โอกาส
1. ครอบครัวให้การสนับสนุนในด้านการศึกษาเป็นอย่างดี
2. รู้จักกับบุคคลหลากหลายอาชีพ
3. ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากสถานศึกษา
ผู้คนและในสถานที่ต่างๆ
4. มีครอบครัวที่อบอุ่น
มีเพื่อนที่เข้าใจและคอยให้กำลังใจ
อุปสรรค
1. ตลาดมีการแข่งขันสูง
เนื่องจากมีคู่แข่งหลากหลายสถาบัน
2. สภาพเศรษฐกิจชะลอตัว
3. เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร
บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (5 คะแนน)
อาจารย์ใจดี เป็นคนที่สอนทั้งเนื้อหาวิชาการ
สอนทั้งการให้ข้อคิดในเรื่องต่างๆการสอนบางครั้งก็มีการสอดแทรกประสบการณ์ที่อาจารย์ได้ประสบมารวมด้วย
อาจารย์เป็นคนที่สอนสบายๆ ไม่เครียด และการเรียนวิชานี้
รู้สึกว่าต้องไปอ่านหนังสือเพิ่มเติมเยอะมากเลยค่ะ รู้สึกว่าในแต่ละเรื่องอาจารย์จะไกด์ในสิ่งที่สำคัญ
ส่วนเรื่องรายละเอียดนั้นจะหาอ่านเพิ่มเติมเอง ส่วนข้อเสียคืออาจารย์ไม่ค่อยเน้นย้ำเนื้อหาที่สำคัญ
และไม่อธิบายส่วนนั้นให้เข้าใจอย่างชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น